วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บันทึกสะท้อนคิด วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2558

สถานการณ์ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังเพิ่ม วันนี้ครูจัดกิจกรรมใส่กระดุมให้น้องตุกตา วิธีเล่นคือ ให้เด็กผลักกันใส่กระดุม ในแต่ละแบบ แต่ละขนาด แตกต่างกันไป มีเด็กคนหนึ่งติดกระดุมเพียงแบบเดียวแล้วก็ไม่ยอมติดกระดุมแบบอื่นอีก

คำถามที่ 1
ครูจะทำอย่างไรเมื่อเด็กไม่ยอมติดกระดุม
คำตอบ
ให้เด็กได้ลองทำใหม่ ชมเด็กเมื่อเด็กทำได้

คำถามที่ 2
ครูจะแนะนำอย่างไรให้เด็กยอมติดกระดุมให้ตุกตา
คำตอบ
ถ้าหนูไม่ทำหนูจะไม่ได้ไปเล่ยกันเพื่อนนะคะ และถ้าหนูทำได้ครูจะมีรางวัลให้หนูด้วยนะคะ

คำถามที่ 3
เมื่อนักเรียนยังไม่ยอมติดกระดุมให้ตุกตา ครูจะทำอย่างไร
คำตอบ
แนะนำเด็ก และประคองมือ พาเด็กทำ

คำถามที่ 4
ครูจะแนะนำผู้ปกครองอย่างไร ให้เด็กติดกระดุมได้เองเมื่ออยู่ที่บ้าน
คำตอบ
แนะนำให้ฝึกเด็กในชีวิตประจำวัน เช่น เวลาเลิกเรียน กลับถึงบ้านแล้วให้เด็กได้ฝึกแกะกระดุมเอง อาจจะใช้เวลามากในการแกะกระดุม และเวลาอาบน้ำเสร็จก็ควรให้เด็กได้ติกกระดุมเองอาจจะใช้เวลาในการติดกระดุมมากหน่อยก็ควรปล่องให้เด็กได้ทำเอา และควรให้ทำทุกวัน

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บันทึกสะท้อนคิด วันพฤหัสที่ 25 มิถุนายน 2558

สถานการณ์ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังเพิ่ม วันนี้ครูจัดกิจกรรม เลือกวัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่าและเล็กกว่า วิธีเล่นคือ ครูจะว่างกล่องโดยไม่เรียงขนาดใว้บนโต๊ะ จำนวน 3 ชิ้น แล้วครูถามว่าชิ้นไหนเล็กที่สุด และชิ้นไหนใหญ่ที่สุด และให้เด็กนำวัตถุบนโต๊ะมาเรีบงตามขนาด จากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก มีเด็กคนหนึ่งยังไม่รู้จักขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก

คำถามที่ 1
ครูจะทำอย่างไรเมื่อเด็กไม่รู้จักขนาด
คำตอบ
ให้ดูเพื่อนเล่นเป็นตัวอย่าง ดูซ้ำๆหลายๆรอบ จนเข้าใจ

คำถามที่ 2
ครูจะแนะนำอย่างไรเมื่อเด็กยังไม่รู้จักขนาด
คำตอบ
ให้เด็กได้จับและสัมผัสวัตถุ แต่ละขนาด พร้อมอธิบายถึงความแตกต่าง

คำถามที่ 3
เมื่อนักเรียนยังไม่รู้จักขนาด ครูจะทำอย่างไร
คำตอบ
แนะนำเด็ก ประคองมือเด็ก พาเด็กทำ

คำถามที่ 4
ครูจะแนะนำผู้ปกครองอย่างไร ให้เด็กรู้จักขนาด ในขณะอยู่ที่บ้าน
คำตอบ
แนะนำให้ผู้ปกครองฝึกเด็กในชีวิตประจำวัน เช่น ขณะรับประทานอาหาร สอนให้เด็กรู้จักถ้วยใบใหญ่ ถ้วยใบเล็ก หรือของใช้ในบ้านชนิดอื่นๆที่ไม่เป็นอันตราย โดยเป็นชนิดเดียวกัน แต่มีขนาดต่างกัน ควรฝึกเด็กบ่อยๆ และเปลี่ยนอุปกรณ์ให้หลากหลาย

บันทึกสะท้อนคิด วันพุธที่ 24 มิถุนายน 2558

สถานการณ์ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังเพิ่ม วันนี้ครูจัดกิจกรรม จับคู่รูปภาพตามประเภท วิธีเล่นคือ ให้เด็กแยกรูปทั้งหมด 6 ใบ ออกจากกัน แล้วนำมาจับคู่ตามประเภท ทั้ง 3 ประเภท เช่น บัตรภาพสัตว์ บัตรภาพอาหาร บัตรภาพเสื้อผ้า จับคู่กันและนำมาส่งครู มีเด็กคนหนึ่งยังไม่รู้จักแยกประเภท

คำถามที่ 1
ครูจะทำอย่างไรเมื่อเด็กแยกประเภทไม่เป็น
คำตอบ
ให้เด็กดูเพื่อนเล่นเป็นตัวอย่าง ดูซ้ำๆหลายๆรอบ จนเข้าใจ

คำถามที่ 2
ครูจะแนะนำอย่างไรเมื่อเด็กยังแยกประเภทไม่ได้
คำตอบ
วางบัตรภาพให้ดูทั้งหมด ที่ละประเภท และบอกให้รู้จัก ว่านี้คือ ภาพอะไร ประเภทอะไร

คำถามที่ 3
เมื่อนักเรียนยังไม่เข้าใจ ครูจะทำอย่างไร
คำตอบ
แนะนำเด็ก และประคองมือ พาเด็กทำ

คำถามที่ 4
ครูจะแนะนำผู้ปกครองอย่างไร ให้เด็กรู้จักแยกประเภท ขณะอยู่ที่บ้าน
คำตอบ
แนะนำให้ผู้ปกครอง วาดหรือตัด จากหนังสือ หนังสือนิตยาสาร หรือสอนจากของจริง และค่อยฝึกจาก 2 ประเภท และเมื่อเด็กทำได้ จึงเพิ่มเป็น 3 ประเภท และควรฝึกบ่อยๆ

บันทึกสะท้อนคิด วันอังคารที่ 23 มิถุนายน 2558

สถานการณ์ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังเพิ่ม วันนี้ครูจัดกิจกรรมเดินทรงตัวบนเส็นหรรษา วิธีเล่นคือ ให้เด็กเดินต่อเท้า จากจุดเริ่มต้นไปจนถึงเส้นชัย เดินเป็นแถว ผลัดกันเดินทีละแถว แถวละ 5 คน มีเด็กคนหนึ่งเดินทรงตัวไม่ได้ก็ไปผลักเพื่อน

คำถามที่ 1
ครูจะทำอย่างไรเมื่อเด็กแกล้งเพื่อน
คำตอบ
อธิบายเด็กว่า การแกล้งเพื่อน จะทำให้ไม่มีใครอยากเล่นด้วย

คำถามที่ 2
ครูจะแนะนำเด็กอย่างไรเมื่อเด็กแกล้งเพื่อน
คำตอบ
เล่านิทาน เรื่อง ตักแตนจอมเกเร

คำถามที่ 3
เมื่อนักเรียนไม่ยอมฟัง ยังแกล้งเพื่อนอยู่ ครูจะทำอย่างไร
คำตอบ
ให้เด็กไปนั่งสงบสติอารม อยู่ที่ข้างโต๊ะครูคนเดียว

คำถามที่ 4
ครูจะแนะนำผู้ปกครองอย่างไร ให้เด็กไม่เอาแต่ใจ แกล้งเพื่อนขณะที่อยู่บ้าน
คำตอบ
ผู้ปกครองควรฝึกให้เด็กได้รู้จักการเล่นกับเพื่อน พาไปเดินเล่นบ้าง พาไปเล่นที่บ้านเพื่อนบ้าง เพื่อฝึกการอยู่ร่วมกันในสังคม

บันทึกทึกสะท้อนคิด วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2558

สถานการณ์ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังเพิ่ม วันนี้ครูจัดกิจกรรม เล่นเกมส์ ถุงปริศนา วิธีเล่น คือ ให้เด็กเลือกสิ่งของใส่ลงไปในถุง 5 ชิ้น (ถุงทึบไม่สามารถมองเห็นสิ่งของที่อยู่ข้างใน) และครูจะบอกให้เด็กหยิบของที่อยู่ในถุงออกมา เช่น หยิบ หวี ซิลูก แล้วเด็กก็เลือกออกมา ให้เด็กหยิบกันคนละชิน สลับกันเล่นจนครบทุกคน มีเด็กคนหนึ่งไม่รู้จักช้อน เมื่อทำไม่ได้จึงนั่งร้องไห้

คำถามที่ 1
ครูจะทำอย่างไร เมื่อเด็กไม่รู้จักช้อน
คำตอบ
ให้เด็กได้จับ สัมผัสช้อนของจริง

คำถามที่ 2
ครูจะแนะนำเด็กอย่างไรให้เด็กได้รู้จักช้อน
คำตอบ
ให้เด็กได้ดูวีดีโอ และดูวิธีการใช้งาน

คำถามที่ 3
เมื่อนักเรียนยังไม่รู้จักช้อน ครูจะทำอย่างไร
คำตอบ
แนะนำเด็ก และอธิบายเป็นประจำทุกวัน

คำถามที่ 4
ครูจะแนะนำผู้ปกครองอย่างไร ให้เด็กได้รู้จัก ข้าวของเครื่องใช้ คณะอยู่ที่บ้าน
คำตอบ
แนะนำผู้ปกครอง ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำงานบ้านบ้าง เช่น กวาดพื้นบ้าน เก็บถ้วยจานและแก้วน้ำ ให้เด็กได้ช่วยทุกวัน เด็กก็จะรู้จัก ข้าวของเครื่องใช้ไปโดยปริยาย

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บันทึกสะท้อนคิด วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2558

 สถานการณ์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังเพิ่ม ในขณะที่พาเด็กเข้านอนมีเด็กชายคนหนึ่งนอนเล่นอวัยวะเพศตนเอง
คำถามที่ 1
ครูจะทำอย่างไรไม่ให้เด็กนอนเล่นอวัยวะเพศ
คำตอบ
ให้เด็กนักเรียนเล่นของเล่นอย่างอื่นที่เขาสนใจและเพลิดเพลินกับของเล่นชิ้นนั้นจนลืมเล่นอวัยวะเพศตนเองไปเลย

คำถามที่ 2
ครูจะแนะนำอย่างไรไม่ให้เด็กเล่นอวัยวะเพศตนเอง
คำตอบ
แนะนำให้รู้ว่ามันเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เสียบุคลิก และดูไม่น่ารักสมกับวัยของเด็ก

คำถามที่ 3
เมื่อนักเรียนไม่ยอมฟังแล้วยังเล่นอวัยวะเพศตนเองยุครูจะทำอย่างไร
คำตอบ
หาของเล่นอย่างอื่นมาดึงดูดความสนใจเด็กคนนั้นจนลืมเล่นอวัยวะเพศตนเองไปเอง

คำถามที่ 4
ครูจะแนะนำอย่างไรต่อผู้ปกครองเมื่อเด็กอยู่ที่บ้านไม่ให้เล่นอวัยวะเพศตนเอง
คำตอบ
การที่เด็กเล็กชอบจับอวัยวะเพศเล่นนั้นเขายังไม่มีความรู้สึกทางเพศแต่เป็นความรู้สึกทั่วๆไปเท่านั้นแต่มันคือความรู้สึกที่ทำแล้วรู้สึกสบายเท่านั้นเมื่ทำบ่อยๆๆก็จะติดเป็นนิสัยและเลิกยาก เมื่อถึงคราวจะให้เลิกก็จะเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน ดังนั้นคุณแม่ควรกล่าวกล่าวตักเตือนลูกโดยไม่ให้ลูกตกใจและคิดว่าผิดมากมาย วิธีที่ถูกคือเบี่ยงเบนความสนใจและให้เค้าเล่นอย่างอื่นจนลืมเล่นอวัยวะเพศไปหรือค่อยๆลดลงไปเอง

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บันทึกสะท้อนคิด วันพฤหัสที่ 18 มิถุนายน 2558

วันไหว้ครู
วันนี้ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังเพิ่ม ได้จักกิจกรรมวันไหว้ครู ประจำปี 2558

ปัญหาที่เจอในวันนี้เด็กนั่งรอทำกิจกรรมนานไม่ได้ เล่นดอกไม้จนพังหมด

วิธีที่จะแก้ไข ให้เด็กทะสมาธิแต่ก็ได้แค่แป๊บเดียว

สิ่งที่คาดหวังในการแก้ปัญหาครั้งต่อไปจะต้องกระชับเวลาให้น้อยกว่าเดิม เพราะเด็กมักจะอยู่นิ่งนาน ๆ ไม่ได้